วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาษาต่างประเทศ




1.  ภาษาบาลี
ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล ภาษาบาลีมีถิ่นกำเนิดในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย บางทีจึงเรียกว่าภาษามคธ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเพราะสาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ
ตัวอย่างคำภาษาบาลีในภาษาไทย
บาป
บุญ
ปัญญา
พยากรณ์
ปฏิกิริยา
ปฏิกูล
พยาบาท
พายุ
ปฏิบัติ
ปัจจัย
พิพาท
ภาคี
มงคล
มติ
มิจฉาชีพ
รถ
รส
รังสี
รูป
ลัทธิ
ลาภ
โลก
โลหิต
วัฏสงสาร
วาจา
วิชา
สงสัย
สติ
สนทนา
สบาย
สังเขป
สันติ
สาหัส
สุข
สุสาน
หทัย
เหมันต์
อคติ
อดีต
อนุมัติ
อนุสรณ์
อเนจอนาถ
อวสาน




















2.  ภาษาสันสกฤต
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีวิภัตดิปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวด ต่าง ๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทย เคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วย ภาษาสันสกฤตมาก่อน แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่าง ของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน   คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป
ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย
กัลป์
กุศล
กัลปาวสาน
โกรธ
คณาจารย์
เคารพ
เคหสถาน
โคตร
โฆษก
โฆษณา
จรรยา
โจรกรรม
ชัชวาล
ตรี, ไตร
ดนตรี
ทรัพย์
ทักษิณ
โทษ
เทพบุตร
นาฏศิลป์
นามธรรม
นิรภัย
นิเทศ
บรรยาย
บริบูรณ์
บัตร
บริษัท
บุตร
บุตรี
บูรพา
บุรุษ
ปฏิปักษ์
ปทัสถาน
ประกาศ
ประการ
ประจักษ์
ประณีต
ประดิษฐาน
ประดิษฐ์
ประเทศ
ประมาณ
ปรากฏ
ประโยชน์
ปราชญ์
ปรารถนา
ปรึกษา
ปราศรัย
พยายาม
พรรณนา
พิสดาร
พรหมลิขิต
แพทย์
พาณิชย์
พิพากษา
ภิกษุ
มนุษย์
มรรยาท
ไมตรี
รักษา
ราษฎร
ฤกษ์
ฤทธิ์
นักบวช
วิเคราะห์
วิทยา
วิเศษ
วินาศ
ศักดา
ศัตรู
ศาสนา
ศัพท์
ศิลปิน
ศึกษา
เศรษฐี
สงเคราะห์
สตรี
สนเท่ห์
สวรรค์
สรรพคุณ
สวัสดิ์, สวัสดี
สังหาร
สัมฤทธิ์
สัปดาห์
สาธิต
แสนยานุภาพ
หรรษา
อธิษฐาน
อนุเคราะห์


3.  ภาษาเขมรในภาษาไทย
ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย  แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก  ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้ว  ยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่าง ๆ บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย  คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง  ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์  เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป  และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย
ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย
กระชับ
กระโดง
กระเดียด
กระบอง
กระบือ
กระท่อม
กระโถน
กระพัง, ตระพัง, ตะพัง
กระเพาะ
กระแส
กังวล
กำจัด
กำเดา
รัญจวน
ลออ
สกัด
สนอง
สนุก
สดับ
สบง
สังกัด
สไบ
สำราญ
สรร
สำโรง
แสวง
แสดง
กำแพง
กำลัง
ขนาน
ขจี
โขมด
จัด
เฉพาะ
ฉบับ
เชลย
โดย
ทรวง
ถนน
บายศรี
ประกายพรึก
ปรับ
ประจาน
โปรด
เผด็จ
ผจญ, ผจัญ
เผอิญ
เผชิญ
เพ็ญ
เพลิง
เพนียด
ระลอก



4.  ภาษาจีนในภาษาไทย

ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ
มีเสียงสูงต่ำ  มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่  มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกและมีลักษณะนาม  ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ  ภาษากวางตุ้ง  ภาษาจีนแคะ  ภาษาฮกเกี้ยน  ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ  ภาษาเซียงไฮ้  และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ  และภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม  เรียกว่า “ภาษาแมนดา-ริน” ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ  ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์  ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ  เช่น  ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป  ใช้คำไทยแปลคำจีน  ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น
ตัวอย่างภาษาจีนในภาษาไทย
ก๊ก
กงสี
กงเต๊ก
กวยจั๊บ
กังฉิน
ก๋วยเตี๋ยว
กุ๊ย
กวางตุ้ง
กุยช่าย
กาน้า
กุยเฮง
กะหล่ำ
เก๊
เกี้ยมไฉ่
เกาเหลา
เกี้ยว
ขงจื้อ
ขึ้นฉ่าย
จับยี่กี
โจ๊ก
จับฉ่าย
เจ
เจ๊า
เฉาก๊วย
ซวย
เซียน
ซาลาเปา
เซียมซี
ซินแส
แซ่
เซ้ง
แซยิด
ตงฉิน
เต้าเจี้ยว
ตังเก
เต้าส่วน
ตั๋ว
เต้าหู้ยี้
ตั้วโผ
เต้าฮวย
ไต๋
ไต้ก๋ง
ถัว
ทู่ซี้
บ๊วย
บะหมี่
แบไต๋
ปุ้งกี๋
เปาะเปี๊ยะ
แป๊ะซะ
โพย
ยี่ห้อ
เย็นตาโฟ
ลิ้นจี่
โสหุ้ย
สาลี่
ห้าง
หุ้น
อั้งยี่
อั้งโล่
เอี๊ยม
ฮวงซุ้ย




5. ภาษามลายูในภาษาไทย
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์   ปัจจุบันเรียกว่า  ภาษามาเลเซีย  จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language)  อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู   มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน   จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน     ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร  โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้แก่  ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  และสตูล  ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างคำภาษามลายูในภาษาไทย
กรง
กระดังงา
กระจง
กะพง
กระจูด
กะละปังหา
กระแชง
กะลาสี
กะลุมพี
กำยาน
กำปั่น
กุญแจ
จับปิ้ง
จำปาดะ
ตลับ
ทุเรียน
บูดู
ปาเต๊ะ
มังคุด
สละ
สลัก
สลาตัน
สลัด
สุจหนี่
โสร่ง
หนัง





6. ภาษาชวาในภาษาไทย
     ภาษาชวา   ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย   เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู   ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมาก เป็นภาษาเขียน  ซึ่งรับมาจากวรรณคดี  เรื่อง  อิเหนา เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างคำภาษาชวาในภาษาไทย
กระจับปี่
การะบุหนิง
กระยาหงัน
กิดาหยัน
จินดาหนา
จินดาหรา
ซ่าโบะ
ซ่าหริ่ม
ดะหมัง
ดาหงัน
ดาลัด
ติกาหลัง
ตุนาหงัน
นากาสาหรี
บายสุหรี
บุษบามินตรา
บุหงัน
บุหงารำไป
บุหงาประหงัน
บุหรง
บุหลัน
ปะตาระกาหลา
ปะตาปา
ปะหนัน
ปั้นเหน่ง
ปาตี
พันตุ
มะงุมมะงาหลา
มะตาหะรี
มิรันตี
มาลาตี
ยาหยี
ยิหวา
ระตู
ระเด่น
วิรงรอง, วิรังรอง
สะการะ
สะตาหมัน
สะการะตาหรา
หวันยิหวา
อสัญแดหวา
อังกะลุง





ใช้คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศให้ถูกต้องอย่างไร





ในการเขียนบทความต่าง ๆ  ลงในบล็อกนั้น  ย่อมต้องมีคำทับศัพท์
ภาษาต่างประเทศปะปนอยู่บ้าง ในแต่ละบทความ ไม่มากก็น้อย อัน
เนื่องมาจาก ยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทย  หรือบัญญัติศัพท์
เป็นภาษาไทยแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยม หรือเคยทับศัพท์เป็นภาษาไทย
กันจนเคยชินไปแล้วก็ตาม   

ภาษาต่างประเทศ  ที่ได้กล่าวถึง ได้แก่  ภาษาอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เยอรมัน
จีน  ญี่ปุ่น  อิตาลี  สเปน  รัสเซีย  อาหรับ  มลายู  ฮินดี  เป็นต้น

การนำคำภาษาต่างประเทศมาเขียนด้วยอักษรไทย โดยให้ออกเสียง
ให้ได้ใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาเดิม รักษารูปศัพท์และไวยากรณ์
ด้วย  ยากอยู่เหมือนกัน ต่างคนต่างเขียน  ศัพท์คำเดียวกัน ปรากฏเขียน
กันหลากหลายวิธี

ศัพท์คอมพิวเตอร์  เช่น  บล็อก  บล๊อก  บล๊อค  บล้อก  โพสต์  โพส   อินเตอร์เน็ต  อินเทอร์เน็ต  อัปโหลด  อัพโหลด  อัปเดต  อัพเดต  
ออนไลน์  ออนลายน์  เว็บไซต์  เวบไซต์    ท่านทราบไหมว่าคำใด
ถูกต้อง คำใดไม่ถูกต้อง

ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำทับศัพท์ภาษา
ต่างประเทศเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ได้แก่   หลักเกณฑ์การทับ
ศัพท์ภาษาอังกฤษ  หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส  หลักเกณฑ์
การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน  หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาสเปน  หลัก
เกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอิตาลี  หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษารัสเซีย
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับ  หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายู  
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี (พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว) 

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์
การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถาน  นั้น  นับว่ายาก
พอสมควร  เพราะเหตุจากความเคยชินในการเขียนประการหนึ่ง  และ
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถานนั้น
ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร  ทั้งยังยากแก่การจดจำ นั้นอีกประการหนึ่ง


>> แนวทางในการใช้คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศให้ถูกต้อง

๑. ศึกษาหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน
    ให้เข้าใจ และนำมาปฏิบัติให้ถูกต้อง
๒. คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณ
    ฑิตยสถาน แล้ว  ก็ให้ใช้ตามพจนานุกรมฯ  นั้น
๓. ควรหาหนังสือคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่พิมพ์จำหน่าย ที่เชื่อถือได้
     ไว้ใช้เป็นคู่มือ


>> หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ  ของราชบัณฑิตยสถาน

        ๑. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ

        ๒. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ

        ๓. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
            ๓.๑ พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น

                             horn            =       ฮอร์น
                             Windsor       =       วินด์เซอร์

            ๓.๒ คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น

                             Okhotsk        =      โอค็อตสก์
                             Barents         =       แบเร็นตส์

            ๓.๓ คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น

                               world          =      เวิลด์
                               quartz         =      ควอตซ์
                               Johns          =     จอนส์
                                first            =      เฟิสต์

        ๔. การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
            ๔.๑ เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น

                              log              =       ล็อก

            ๔.๒ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น

                               Okhotsk      =      โอค็อตสก์

        ๕. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น

        coke              =          โค้ก
        coma             =          โคม่า

        ๖. พยัญชนะซ้อน  (double letter) คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไปให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น

        football          =          ฟุตบอล

         แต่ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้เก็บไว้ทั้ง ๒ ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น

        cell                 =          เซลล์
        James Watt     =          เจมส์ วัตต์

         ถ้า พยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลังเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป ฉะนั้น การใช้พยัญชนะตัวสะกดและพยัญชนะต้น จะต่างกันตามหลักเกณฑ์การเทียบพยัญชนะในตารางข้างท้าย เช่น

        pattern            =          แพตเทิร์น
        Missouri          =          มิสซูรี
        broccoli           =         บรอกโคลี

         ๗. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ตัวต่อไปด้วย ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้

              ๗.๑ ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้าเข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้นของ พยางค์ต่อไป เช่น

                             couple               =          คัปเปิล
                             double               =          ดับเบิล

              ๗.๒ ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ให้ทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น

                            California            =          แคลิฟอร์เนีย
                            general               =          เจเนอรัล 

              ๗.๓ ถ้าเป็นคำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y และการทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษดังข้อ ๗.๒ อาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่ง   เพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม เช่น

                            sweater              =          สเวตเตอร์
                            booking             =          บุกกิง
                            Snoopy              =          สนูปปี

        ๘. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (hyphen) ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกันไป เช่น

        cross-stitch           =         ครอสสติตช์

          ยกเว้นในกรณีที่เป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนาม เช่น

        cobalt-60               =         โคบอลต์-๖๐
        McGraw-Hill           =         แมกกรอว์-ฮิลล์

         ๙. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม เช่น

        calcium carbonate       =          แคลเซียมคาร์บอเนต
        night club                  =          ไนต์คลับ
        New Guinea               =          นิวกินี

          ๑๐. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูปคำนามหรือคำคุณศัพท์นั้น ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้

          ๑๐.๑ ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมายความว่า "เป็นของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น

                        hyperbolic curve      =     ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา
                        electronic charge      =    ประจุอิเล็กตรอน
                        focal length             =     ความยาวโฟกัส

          ๑๐.๒ ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายว่า "เกี่ยวข้องกับ" หรือ "เกี่ยวเนื่องจาก" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามโดยใช้คำประกอบ เชิง 
แบบ อย่าง ทาง ชนิด ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น

                        atomic absorption     =    การดูดกลืนโดยอะตอม
            electronic power conversion   =    การแปลงผันกำลังเชิง                                                             อิเล็กทรอนิกส์

          ๑๐.๓ ในกรณีที่การทับศัพท์ในรูปคำนามตามข้อ ๑๐.๑ และข้อ ๑๐.๒ ทำให้เกิดความหมายกำกวมหรือคลาดเคลื่อน ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น

                            sulpuric acid           =   กรดซัลฟิวริก
                            feudal system         =   ระบบฟิวดัล
                            metric system         =   ระบบเมตริก
                            hyperbolic function  =   ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก

       ๑๑. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้น ๆ โดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น

        Euclidean geometry        =         เรขาคณิตระบบยุคลิด
        Eulerian function            =         ฟังก์ชันแบบออยเลอร์
        Napierian logarithm        =         ลอการิทึมแบบเนเปียร์

ยกเว้นในกรณีที่คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล เป็นชื่อเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในแต่ละวงการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ในภาษา อังกฤษไม่ได้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น

        abelian group                =          กลุ่มอาบีเลียน

        ๑๒. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็นชื่อประเทศ เช่น

        Swedish people              =          คนสวีเดน
        Hungarian dance            =          ระบำฮังการี

ยกเว้นชื่อที่เคยใช้มานานแล้ว ได้แก่

        ประเทศเยอรมนีใช้ว่า    …เยอรมัน  เช่น ภาษาเยอรมัน
        ประเทศกรีซ ใช้ว่า        …กรีก เช่น เรือกรีก
        ประเทศไอร์แลนด์ ใช้ว่า …ไอริช เช่น ชาวไอริช
        ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ว่า …ฮอลันดา เช่น ชาวฮอลันดา หรือ ...ดัตช์ เช่น ภาษาดัตช์
        ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ว่า …สวิส เช่น ผ้าสวิส
        สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ใช้ว่า ...
อังกฤษ  เช่น คนอังกฤษ
        สหรัฐอเมริกา ใช้ว่า …อเมริกัน เช่น รถอเมริกัน

        สำหรับสหภาพโซเวียต ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำคุณศัพท์ ๒ คำ คือ Soviet…และ Russian…ใช้ว่า …โซเวียต และ …รัสเซีย เช่น
        Soviet Style (of architecture)   =    (สถาปัตยกรรม) แบบโซเวียต
        Russian food                         =     อาหารรัสเซีย

        ๑๓. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
            ๑๓.๑ คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น

                              cosmic ray       =    รังสีคอสมิก
                              gross ton         =    ตันกรอส

            ๑๓.๒ ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทย ให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น

                              Arctic Circle      =    อาร์กติกเซอร์เคิล
                              adrenal cortex   =    อะดรีนัลคอร์เทกซ์

            ๑๓.๓ ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและคำคุณศัพท์ที่ประกอบ เป็นชนิดหนึ่งของคำนามนั้น อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ ฯลฯ มาแทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น

                              normal matrix   =    เมทริกซ์แบบนอร์แมล
                              thermoseting plastic     =    พลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติง

        ๑๔. คำย่อ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ลงเป็นภาษาไทย ดังนี้

        A = เอ            B = บี              C = ซี
        D = ดี             E = อี               F = เอฟ
        G = จี             H = เอช            I = ไอ
        J = เจ             K = เค              L = แอล
        M = เอ็ม         N = เอ็น            O = โอ
        P = พี            Q = คิว              R = อาร์
        S = เอส         T = ที                U = ยู
        V = วี            W = ดับเบิลยู       X = เอกซ์
        Y = วาย         Z = แซด

และให้เขียนโดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น

        BBC                       =   บีบีซี
        F.B.I                      =   เอฟบีไอ
        DDT                      =   ดีดีที

        ๑๕. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น

        USIS                      =   ยูซิส
        UNESCO                =   ยูเนสโก
        ASEAN                  =   อาเซียน

        ๑๖. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น

        D.N. Smith            =   ดี.เอ็น. สมิท
        G.H.D. Cold           =   จี.เอช.ดี. โคลด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น