ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีวิภัตดิปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวด ต่าง ๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทย เคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วย ภาษาสันสกฤตมาก่อน แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่าง ของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป
ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย
|
กัลป์
|
กุศล
|
กัลปาวสาน
|
โกรธ
|
คณาจารย์
|
เคารพ
|
เคหสถาน
|
โคตร
|
โฆษก
|
โฆษณา
|
จรรยา
|
โจรกรรม
|
ชัชวาล
|
ตรี, ไตร
|
ดนตรี
|
ทรัพย์
|
ทักษิณ
|
โทษ
|
เทพบุตร
|
นาฏศิลป์
|
นามธรรม
|
นิรภัย
|
นิเทศ
|
บรรยาย
|
บริบูรณ์
|
บัตร
|
บริษัท
|
บุตร
|
บุตรี
|
บูรพา
|
บุรุษ
|
ปฏิปักษ์
|
ปทัสถาน
|
ประกาศ
|
ประการ
|
ประจักษ์
|
ประณีต
|
ประดิษฐาน
|
ประดิษฐ์
|
ประเทศ
|
ประมาณ
|
ปรากฏ
|
ประโยชน์
|
ปราชญ์
|
ปรารถนา
|
ปรึกษา
|
ปราศรัย
|
พยายาม
|
พรรณนา
|
พิสดาร
|
พรหมลิขิต
|
แพทย์
|
พาณิชย์
|
พิพากษา
|
ภิกษุ
|
มนุษย์
|
มรรยาท
|
ไมตรี
|
รักษา
|
ราษฎร
|
ฤกษ์
|
ฤทธิ์
|
นักบวช
|
วิเคราะห์
|
วิทยา
|
วิเศษ
|
วินาศ
|
ศักดา
|
ศัตรู
|
ศาสนา
|
ศัพท์
|
ศิลปิน
|
ศึกษา
|
เศรษฐี
|
สงเคราะห์
|
สตรี
|
สนเท่ห์
|
สวรรค์
|
สรรพคุณ
|
สวัสดิ์, สวัสดี
|
สังหาร
|
สัมฤทธิ์
|
สัปดาห์
|
สาธิต
|
แสนยานุภาพ
|
หรรษา
|
อธิษฐาน
|
อนุเคราะห์
|
3. ภาษาเขมรในภาษาไทย
| |
ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้ว ยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่าง ๆ บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์ เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย
ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย
|
กระชับ
|
กระโดง
|
กระเดียด
|
กระบอง
|
กระบือ
|
กระท่อม
|
กระโถน
|
กระพัง, ตระพัง, ตะพัง
|
กระเพาะ
|
กระแส
|
กังวล
|
กำจัด
|
กำเดา
|
รัญจวน
|
ลออ
|
สกัด
|
สนอง
|
สนุก
|
สดับ
|
สบง
|
สังกัด
|
สไบ
|
สำราญ
|
สรร
|
สำโรง
|
แสวง
|
แสดง
|
กำแพง
|
กำลัง
|
ขนาน
|
ขจี
|
โขมด
|
จัด
|
เฉพาะ
|
ฉบับ
|
เชลย
|
โดย
|
ทรวง
|
ถนน
|
บายศรี
|
ประกายพรึก
|
ปรับ
|
ประจาน
|
โปรด
|
เผด็จ
|
ผจญ, ผจัญ
|
เผอิญ
|
เผชิญ
|
เพ็ญ
|
เพลิง
|
เพนียด
|
ระลอก
|

4. ภาษาจีนในภาษาไทย
| |
ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ
มีเสียงสูงต่ำ มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกและมีลักษณะนาม ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนแคะ ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ ภาษาเซียงไฮ้ และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ และภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม เรียกว่า “ภาษาแมนดา-ริน” ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ เช่น ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปลคำจีน ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น
ตัวอย่างภาษาจีนในภาษาไทย
|
ก๊ก
|
กงสี
|
กงเต๊ก
|
กวยจั๊บ
|
กังฉิน
|
ก๋วยเตี๋ยว
|
กุ๊ย
|
กวางตุ้ง
|
กุยช่าย
|
กาน้า
|
กุยเฮง
|
กะหล่ำ
|
เก๊
|
เกี้ยมไฉ่
|
เกาเหลา
|
เกี้ยว
|
ขงจื้อ
|
ขึ้นฉ่าย
|
จับยี่กี
|
โจ๊ก
|
จับฉ่าย
|
เจ
|
เจ๊า
|
เฉาก๊วย
|
ซวย
|
เซียน
|
ซาลาเปา
|
เซียมซี
|
ซินแส
|
แซ่
|
เซ้ง
|
แซยิด
|
ตงฉิน
|
เต้าเจี้ยว
|
ตังเก
|
เต้าส่วน
|
ตั๋ว
|
เต้าหู้ยี้
|
ตั้วโผ
|
เต้าฮวย
|
ไต๋
|
ไต้ก๋ง
|
ถัว
|
ทู่ซี้
|
บ๊วย
|
บะหมี่
|
แบไต๋
|
ปุ้งกี๋
|
เปาะเปี๊ยะ
|
แป๊ะซะ
|
โพย
|
ยี่ห้อ
|
เย็นตาโฟ
|
ลิ้นจี่
|
โสหุ้ย
|
สาลี่
|
ห้าง
|
หุ้น
|
อั้งยี่
|
อั้งโล่
|
เอี๊ยม
|
ฮวงซุ้ย
|
|
|
| |
5. ภาษามลายูในภาษาไทย
| |
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างคำภาษามลายูในภาษาไทย
|
กรง
|
กระดังงา
|
กระจง
|
กะพง
|
กระจูด
|
กะละปังหา
|
กระแชง
|
กะลาสี
|
กะลุมพี
|
กำยาน
|
กำปั่น
|
กุญแจ
|
จับปิ้ง
|
จำปาดะ
|
ตลับ
|
ทุเรียน
|
บูดู
|
ปาเต๊ะ
|
มังคุด
|
สละ
|
สลัก
|
สลาตัน
|
สลัด
|
สุจหนี่
|
โสร่ง
|
หนัง
|
| |
|
| |
|